เมนู

พรานพิจารณาดูว่า เขาพูดมีเหตุผล จึงรับเอาลูกกวางมาแล้วให้กวางไป.
บทว่า นิกติ ได้แก่การล่อลวงด้วยของเทียมโดยทำของที่มิใช่สังวาล
ให้เห็นเป็นสังวาล ของที่มิใช่แก้วมณี ให้เห็นเป็นแก้วมณี ของที่มิใช่
ทอง ให้เห็นเป็นทอง ด้วยอำนาจการประกอบขึ้น หรือด้วยอำนาจ
กลลวง.
บทว่า สาริโยโค ได้แก่วิธีโกง. คำนี้เป็นชื่อของการรับสินบน
เป็นต้น เหล่านี้แหละ เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า
การตลบตะแลง คือการรับสินบน การตลบตะแลง คือการล่อลวง การ
ตลบตะแลงคือการปลอม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การแสดงสิ่งหนึ่ง
แล้วสับเปลี่ยนเป็นสิ่งหนึ่ง ชื่อว่าการตลบตะแลง. ก็ข้อนั้นสงเคราะห์เข้า
ด้วยการล่อลวงนั่นเอง.

ในการตัดเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


บทว่า ตัด ได้แก่การตัดมือเป็นต้น.
บทว่า ฆ่า ได้แก่ทำให้ตาย.
บทว่า ผูกมัด ได้แก่ผูกด้วยเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น.
บทว่า วิปราโมโส ความว่า การตีชิง มี 2 อย่าง คือ การบัง
หมอกตีชิง 1 การบังพุ่มไม้ที่ชิง 1. เวลาหิมะตก ซ่อนตัวด้วยหิมะ แย่ง
ชิงคนเดินทาง นี้ชื่อว่า การบังหมอกตีชิง. ซ่อนตัวด้วยพุ่มไม้เป็นต้น
แย่งชิง นี้ชื่อว่า การบังพุ่มไม้ตีชิง.
การกระทำการปล้นบ้านและนิคมเป็นต้น เรียกว่า การปล้น.
บทว่า สหสากาโร ได้แก่การกระทำอย่างรุนแรง ได้แก่การเข้า
เรือนแล้วเอาศาตราจ่ออกพวกชาวบ้าน เก็บเอาสิ่งของที่ตนต้องการ

พระสมณโคดม เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การตีชิง
การปล้น และกรรโชกนี้ ด้วยประการฉะนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต ก็พึงกล่าวดังนี้แล.
จุลศีลเป็นอันจบแต่เพียงเท่านี้

วรรณนามัชฌิมศีล


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเริ่มแสดงมัชฌิมศีล จึงตรัส
พระบาลีมีอาทิว่า ยถา วา ปเนเก โภนฺโต ดังนี้.
ในคำนั้น มีวรรณนาบทที่ยาก ๆ ดังต่อไปนี้
บทว่า สทฺธาเทยฺยานิ ความว่า ที่คนเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
และโลกนี้โลกหน้าให้แล้ว. อธิบายว่า เขามิได้ให้ด้วยประสงค์อย่างนี้ว่า
ผู้นี้เป็นญาติของเรา หรือว่าเป็นมิตรของเรา หรือว่าเขาจักตอบแทนสิ่งนี้
หรือว่า สิ่งนี้เขาเคยทำ ดังนี้. ด้วยว่า โภชนะที่เขาให้อย่างนี้ ย่อมไม่
ชื่อว่าให้ด้วยศรัทธา
บทว่า โภชนานิ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา แต่โดยเนื้อความ ย่อม
เป็นอันกล่าวคำนี้ทั้งหมดทีเดียวว่า บริโภคโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา ห่ม
จีวร ใช้สอยเสนาสนะ บริโภคคิลานเภสัชที่เขาให้ด้วยศรัทธา ดังนี้ .
บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต มีเนื้อความเป็นไฉน มีเนื้อความว่า
พืชคามและภูตคามที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกประกอบการพรากอยู่.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพืชคามแสะภูตคาม
นั้น จึงตรัสว่า มูลพีชํ เป็นต้น ดังนี้.